อัตราค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่น?

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 

     ตามกฎหมายกำหนด ให้นิติบุคคลนำส่งงบการเงินปีละ 1 ครั้ง ซึ่งบางผู้ประกอบการอาจจะเข้าใจว่าไม่ต้องนำส่งก็ได้หรือนำส่งย้อนหลังก็ได้ จริงๆแล้วถ้าจะทำอย่างนั้นก็ได้ แต่สิ่งที่ตามมาจะโดนหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือโดนจดหมายจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ไปจ่ายค่าปรับที่ค่อนข้างสูงพอสมควร บทความนี้อยากแนะนำผู้ประกอบการทุกท่านว่า ให้นำส่งงบการเงินให้ตรงตามเวลาแต่หากมีเหตุจำเป็นที่ต้องนำส่งล่าช้าให้รีบนำส่งให้เร็วที่สุดเพื่อลดอัตราค่าปรับ 

     ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน จะมี 2 ส่วน คือ
1. ค่าปรับกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
2. ค่าปรับกับกรมสรรพากร

 

1. ค่าปรับกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
    กรณีไม่ได้ยื่นงบการเงิน
    อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ค่าปรับ

ผู้มีหน้าที่

จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

รวม
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน 1,000 1,000 2,000
2. บริษัทจำกัด 1,000 1,000 2,000
3. นิติบุคคลต่างประเทศ 2,000 2,000 4,000
4. บริษัทมหาชนจำกัด 2,000 2,000 4,000
5. กิจการร่วมค้า 2,000 - 2,000

 

     อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ค่าปรับ

ผู้มีหน้าที่

จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

รวม
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน 4,000 4,000 8,000
2. บริษัทจำกัด 4,000 4,000 8,000
3. นิติบุคคลต่างประเทศ 24,000 24,000 48,000
4. บริษัทมหาชนจำกัด 24,000 24,000 48,000
5. กิจการร่วมค้า 24,000 - 24,000

 

     อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไปหรือไม่ยื่นงบการเงิน

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ค่าปรับ

ผู้มีหน้าที่

จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ

ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

รวม
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน 6,000 6,000 12,000
2. บริษัทจำกัด 6,000 6,000 12,000
3. นิติบุคคลต่างประเทศ 36,000 36,000 72,000
4. บริษัทมหาชนจำกัด 36,000 36,000 72,000
5. กิจการร่วมค้า 36,000 - 36,000

• ค่าปรับกรณีมิได้ยื่นงบการเงิน มีอายุความ 1 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดยื่นงบการเงิน
• กรณีที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี และจะต้องนำไปยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือนนับจากวันประชุม
1. ถ้าประชุมทันตามกำหนดภายใน 4 เดือน แต่นำส่งงบการเงินไม่ทันภายใน 1 เดือน จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ (ตามตารางข้างต้น)
2. ถ้าประชุมเกินกำหนดเวลา ก็จะเป็นกรณี “ไม่นำงบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนนับแต่วันที่ลงในงบดุล” จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของบริษัท 6,000 บาท และกรรมการผู้มีอำนาจ โดยคำนวณตามจำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทคนละ 6,000 บาท
3. กรณีไม่นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ซึ่งตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งหากมิได้นำส่งตามกำหนดดังกล่าวมีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท

 

2. กรณีส่งงบการเงินไม่ทันยังมีในส่วนค่าปรับกับกรมสรรพากร

- ค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนด ไม่เกิน 2,000 บาท (ปกติต้องยื่นภงด.50 ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบบัญชี)
- ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 1,000 บาท
- ยื่นแบบเกิน 7 วัน 2,000 บาท
- ค่าปรับอาญาไม่ยื่นงบการเงิน 2,000 บาท
- เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) กรณีมีภาษีที่ต้องชำระ
- อายุความเปรียบเทียบปรับอาญา 1 ปี

 

 

บทความโดย :  นางสาวปิยวรรณ ปาสา ประจำสำนักคณะกรรมการบริหาร