เตือนนำส่งงบการเงินช้า ส่งผลให้กรรมการต้องเสียค่าเบี้ยปรับ ประเด็นที่ต้องระมัดระวัง โดย อ.ธนพล สุขมั่นธรรม

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 เตือนนำส่งงบการเงินช้า ส่งผลให้กรรมการต้องเสียค่าเบี้ยปรับ ประเด็นที่ต้องระมัดระวัง

          ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้กล่าวถึงผู้ทำบัญชีไว้ว่า เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะกระทำในฐานะลูกจ้าง หรือเจ้าของกิจการก็ได้ หรืออาจจ้างสำนักงานบัญชีเป็นผู้ดำเนินการจัดทำบัญชี โดยผู้ทำบัญชีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่ตรงตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับประเทศไทยนั้น คุณสมบัติที่สำคัญของผู้ทำบัญชีคือ มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร, มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชี รวมไปถึงไม่เคยโดนคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเนื่องจากกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีหรือกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นเสียแต่ว่าจะพ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ มีคุณวุฒิตามที่กฎหมายกำหนด โดยวุฒิที่สามารถจัดทำบัญชีได้คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรีทางด้านการบัญชี กรณีที่เป็นการเริ่มทำบัญชีแรกของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คุณวุฒิของผู้ทำบัญชีนั้นจะพิจารณาจากทุนจดทะเบียนที่กำหนดไว้

 

          สำหรับการจัดทำบัญชีเมื่อดำเนินการครบตามรอบระยะเวลาบัญชีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องดำเนินการส่งงบการเงิน พร้อมทั้งเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด โดยจัดส่งทาง DBD e-filing สำหรับประเด็นการนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถยื่นงบการเงินได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องดำเนินการจัดทำหนังสือขอขยาย หรือเลื่อนเวลายื่นงบการเงินต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งอาจผลการพิจารณาสั่งให้ขยายหรือเลื่อนกำหนเวลายื่นงบการเงินนั้นจะเป็นการอนุมัติตามความจำเป็นแก่กรณี

 

          แต่อย่างไรก็ตามหากกรณีที่กิจการทำการยื่นงบการเงินเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามคู่มือการนำส่งงบการเงินปี 2559 ได้บัญญัติโทรไว้ ว่า หากยื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน กิจการประเภทห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด ต้องชำระเบี้ยปรับโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีชำระ 1,000 บาท และกรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ/ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน อีก 1,000 บาท รวมทั้งสิ้น 2,000 บาท สำหรับบริษัทมหาชนจำกัด ยอดชำระทั้งสิ้นอยู่ที่ 4,000 บาท

กรณีที่ยื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน กิจการประเภทห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด ต้องชำระเบี้ยปรับโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีชำระ 4,000 บาท และกรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ/ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน อีก 4,000 บาท รวมทั้งสิ้น 8,000 บาท สำหรับบริษัทมหาชนจำกัด ยอดชำระทั้งสิ้นอยู่ที่ 48,000 บาท และกรณีที่เกิน 4 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน กิจการประเภทห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด ต้องชำระเบี้ยปรับโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีชำระ 6,000 บาท และกรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ/ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน อีก 6,000 บาท รวมทั้งสิ้น 12,000 บาท สำหรับบริษัทมหาชนจำกัด ยอดชำระทั้งสิ้นอยู่ที่ 72,000 บาท

 

จากบทลงโทษนี้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินงาน ควรต้องระมัดระวัง และไม่ควรมองข้าม ซึ่งหากท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วน 1570 ครับ

 

 

ขอขอบพระคุณ บทความดีๆ จาก อ.ธนพล สุขมั่นธรรม