แก๊งมิจฉาชีพล่วงรู้'ข้อมูล-เบอร์โทร'เรา...ได้อย่างไร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

 

       ระยะนี้ ศูนย์คุ้มคอรงผู้บริโภคทางการเงิน หรือศคง. ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า แก๊งมิจฉาชีพออกอาละวาด แอบอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่แบงก์ เจ้าหน้าที่จากส่วนราชการ เช่น แบงก์ชาติ ดีเอสไอ ตำรวจ โดยการโทรเข้าหาเรา เพื่อหลอกลวง และแอบสอบถามข้อมูลส่วนตัวจากเรา จนทำให้เกิดความสงสัย และเกิดคำถามขึ้นในใจเราว่า....

       • มิจฉาชีพรู้เบอร์โทรศัพท์ของเราได้อย่างไร?

       - มิจฉาชีพใช้หลากหลายวิธี ในการหาข้อมูลของเหยื่อ แต่ส่วนมาก...มักเก็บข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือ Social Media ต่างๆ ที่เหยื่อโพสต์โทรศัพท์ หรือข้อมูลอื่นๆ ไว้ เช่น วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ 

       • หากรู้หมายเลขบัญชีที่โอนเงินไป จะสามารถจับตัวมิจฉาชีพได้หรือไม่

       -มิจฉาชีพมักไม่ใช้บัญชีเงินฝากของตนเอง ในการรับเงินโอนจากเหยื่อ แต่จะใช้วิธีจ้างคนอื่น เปิดบัญชีให้ แล้วนำบัตรเอทีเอ็ม มากดเงินออกทันที ที่ได้รับเงินโอน หรืออาจใช้วิธีหลอกใช้บัญชีของเหยื่อรายอื่นเพื่อรับเงินโอน จึงทำให้การจับตัวคนร้ายตัวจริงค่อนข้างลำบาก 

       • เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เจ้าหน้าที่ที่โทรศัพท์มา เป็นเจ้าหน้าที่จากสถาบันการเงิน หรือเป็นกลุ่มมิจฉาชีพ

       -มิจฉาชีพมักเลียนแบบวิธีการติดต่อของเจ้าหน้าที่ให้เหมือนจริงมากที่สุด ดังนั้นวิธีจะระวังและป้องกันตัวได้ คือ ทบทวนสิ่งที่ได้รับแจ้ง และความน่าจะเป็น หลังจากนั้น ให้วางสาย และติดต่อไปยังสถาบันการเงินที่ถูกอ้างถึงด้วยตนเอง สอบถามข้อเท็จจริงของเรื่องที่ได้รับแจ้ง

       -สถาบันการเงินไม่มีนโยบายขอข้อมูล หรือแจ้งให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์ หากมียอดค้างชำระจริง ลูกค้าสามารถชำระเอง ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องทำรายการผ่านตู้เอทีเอ็ม ตามคำบอกของเจ้าหนี้

 

 

ขอขอบคุณที่มา : กรุงเทพธุรกิจ