กรมบัญชีกลางจัดโปรกู้ฉุกเฉิน ช่วยข้าราชการลูกหม้อล้างหนี้กยศ.

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

กรมบัญชีกลาง งัดมาตรการช่วย ขรก.ลูกหม้อ หลังตรวจพบ 400 รายไม่เคยจ่ายหนี้ กองทุน กยศ.-กรอ.พร้อมจัดกลุ่มหวังช่วยตรงจุด จัดโปรกู้ฉุกเฉิน พร้อมลดดอกเบี้ย 50% พ่วงยืดระยะเวลาชำระหนี้ หวังหลุดบ่วงหนี้ กยศ.

นางสาวอรนุช ไวนุสิทธิ์ รองอธิบดี และที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่ากรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างกำหนดแนวทางการช่วยเหลือบุคลากร ของกรม ที่ไม่ได้ชำระค่างวดจากการกู้ยืมเงินระหว่างเรียน ซึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้กองทุน เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และ กรอ. โดยปัจจุบันจากการสำรวจข้อมูลพบว่า มีบุคคลากรที่เป็นเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลางไม่ได้ชำระหนี้ กยศ. และกรอ. รวมแล้วกว่า 400 ราย แม้ส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลว่า คิดว่าเป็นเงินให้เปล่า ไม่คิดว่าเมื่อทำงานจะต้องใช้คืน ส่วนตัวก็ทราบว่านั่นอาจเป็นเพียงข้ออ้างสำหรับผู้ที่ไม่จ่าย ซึ่งแท้จริงแล้วตอนที่ผู้กู้ส่งเอกสารเพื่อขอกู้เงินยืมเรียน ต้องทราบอยู่แล้วว่าจะต้องใช้คืนหลังจากเรียนจบ ซึ่งตรงนั้นคงไม่สามารถทำได้เพราะมันผ่านมาแล้ว ดังนั้นแต่หลังจากที่กรมบัญชีกลาง ลงนามในการทำสัญญาในฐานที่เป็น 1 ใน 5 หน่วยงานนำร่อง ดังนั้นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของกรมทุกรายจะต้องใช้หนี้คืนเพราะถือว่า เป็นการได้รับโอกาสจากเงินกองทุน ดังนั้นจำเป็นจะต้องคืนฐานะที่เป็นข้าราชการ

 

“กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างจัดกลุ่มหนี้ จากข้าราชการ 400 รายว่า ประสบความเดือดร้อนในแง่ไหน ที่ไม่จ่ายเพราะอะไร เพราะเงินเดือนน้อยไม่เพียงพอที่จะจ่าย บางรายเข้าข่ายมีรายจ่ายที่สูง หรือมีหนี้คงค้างอยู่ที่ใดบ้าง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจถูกฟ้องดำเนินคดีในอนาคต เนื่องจากจะเป็นการผิดวินัยข้าราชการ”

 

สำหรับแนวทางที่ได้ทำไปแล้วก่อนหน้านี้ คือ การเปิดให้ข้าราชการของกรมสามารถยื่นเรื่องเพื่อขอกู้เงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์กรมบัญชีกลาง โดยได้รับอนุมัติจากนายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลางแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับข้าราชการ โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 50% ของอัตราดอกเบี้ยปกติ โดยจะคิดในอัตราที่ % จากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่คิดอยู่ที่ 6% ต่อปี พร้อมกันนี้ได้ขยายระยะเวลาเงินกู้ยืมให้กับพนักงานหรือข้าราชการ ในกรณีที่เป็นการกู้ฉุกเฉิน จากเดิมที่ต้องมมีกำหนดคืนภายใน 24 เดือนก็ได้ขยายระยะเวลาออกไปเป็นให้คืนภายใน 60 เดือนหรือ ภายใน 5 ปี

 

ที่มา-จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ