ขึ้นค่าแรงหรือขึ้นภาษี VAT ต้องเลือก

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

  

ลดมาเสียภาษีในขั้นที่ 6 อัตรา 30% ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันกับผู้มีเงินได้ตั้งแต่ 2,000,001-4,00,000 บาท ส่วนอื่นๆ ได้ประโยชน์จากการปรับเกณฑ์ใหม่ อาทิ ปรับค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายได้เพิ่มมากขึ้น หรือปรับค่าเลี้ยงดูบุตรได้เพิ่มมากขึ้น หรือกรณีบุคคลที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 26,000 บาทไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งปัจจุบันมีเงินได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนจะต้องเสียภาษีเงินได้ เป็นต้น

 

ซึ่งกรณีเกณฑ์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่นี้จะทำให้รัฐมีรายได้ลดลงจากเดิมประมาณปี 32,000 ล้านบาท ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ออกมายืนยันแล้วว่าจะไม่เรียกเก็บเพิ่ม จะยังคงเก็บในอัตราเดิม คืออัตรา 7% นั่นเอง แม้จะมีข้อเรียกร้องจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอ็ฟบอกว่า เมื่อเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวน่าจะพิจารณาจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้เพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลยังชะลอที่จะแตะต้องในเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ และรายได้ที่อาจจะมาชดเชยกับที่เสียไปอาจมาจากการจับเก็บภาษีตัวใหม่หรือภาษีบ้านและที่ดินนั่นเอง ซึ่งขณะนี้รายละเอียดยังไม่ปรากฏออกมาหรืออาจจะมาในวันหรือ 2 วันนี้ก็ได้

 

รายได้ของรัฐมาจากการจัดเก็บภาษี จากการจัดเก็บค่าอากร ค่าฤๅชาธรรมเนียม อื่นๆ ซึ่งโดยภาพรวมแล้วรัฐจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ประมาณ 41% รายได้จากภาษีนิติบุคคล 32% รายได้จากภาษีบุคคลธรรมดา 17% รายได้จากภาษีธุรกิจเฉพาะประมาณ 3% รายได้จากภาษีปิโตรเลียมประมาณ 5% และอื่นๆ คือที่เหลือ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายได้เป็นกอบเป็นกำของรัฐ เพราะจัดเก็บจากการขายสินค้า รวมถึงค่าบริการ ไม่ว่าผู้ซื้อจะเป็นใคร ไม่ว่ารายได้จะสูงหรือต่ำเพียงใดก็ต้องเสียภาษี VAT ในอัตรา 7% เท่ากัน

 

กรณีแรงงานรวมพลังร้องขอรัฐบาลให้ปรับค่าแรงเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 300 บาทให้เป็น 360 บาท ผมว่าไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศยังอยู่ในภาวะฝืดเคือง อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก รวมถึงภาคอื่นๆ ในการส่งออกก็ยังไม่ได้ขยับเพิ่มขึ้น กำลังการผลิตของเครื่องจักรในประเทศมีค่าเฉลี่ยประมาณ 65-70 % ของขีดความสามารถในการผลิต สะท้อนภาพให้เห็นอย่างชัดเจน หลายแห่งก็ทยอยปรับลดการจ้างงานบ้างแล้ว และสิ่งที่สะท้อนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตัวเลขการนำเข้าสินค้าของประเทศไทยก็ลดต่ำลงด้วย ไม่ใช่แต่เฉพาะการส่งออกเท่านั้นที่ลดต่ำลง

 

นั่นแสดงว่าการคาดการณ์ของผู้ประกอบการยังมองเศรษฐกิจโลกในทางลบหรือมองว่าเศรษฐกิจต่างประเทศยังคงแย่อยู่และจะแย่ต่อไปอีกสักระยะ เมื่อขาดแรงจูงใจในการผลิตสินค้า แล้วเราจะปรับขึ้นค่าแรงไปได้อย่างไร ? นอกจากนี้การนำเข้าสินค้าก็เป็นตัวสะท้อนกำลังซื้อภายในประเทศได้เป็นอย่างดีด้วย เรานำเข้าสินค้าในอัตราที่ลดลงมากกว่า ขณะที่การส่งออกก็ลดลงด้วยแต่มีอัตราน้อยกว่าการนำเข้า ทำให้เรายังได้ดุลอยู่ ฉะนั้น เมื่อพิจารณาแล้วเรายังขาดปัจจัยเกื้อหนุนที่จะปรับค่าแรงเพิ่มขึ้น

 

ความเป็นจริงอีกประการหนึ่งที่ควรกล่าวถึงก็คือ อัตราเงินเฟ้อของประเทศก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาอย่างต่อเนื่อง 2-3 ปีแล้ว นี่ก็เป็นตัวเลขชี้วัดที่สำคัญสำหรับการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงมาตลอด เมื่อเงินเฟ้อต่ำก็หมายความถึง “ราคาเฟ้อต่ำ” จึงขาดปัจจัยเกื้อหนุนให้มีการปรับขึ้นค่าแรงอีกด้านหนึ่งด้วย

 

ด้านราคาสินค้าในประเทศจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์บอกว่า ตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน ได้มีการปรับลดราคาจำหน่ายสินค้าลงแล้ว 36 สินค้า 402 รายการ โดยในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2559 มีสินค้าที่ผู้ประกอบการแจ้งปรับลดราคาแล้ว 15 สินค้า รวม 128 รายการ โดยปรับราคาจำหน่ายลงเฉลี่ย 1.6 – 33% โดยเฉพาะสินค้ายางรถยนต์ ร้านค้ารายใหญ่ปรับราคาจำหน่ายลดลง 5 – 39% ส่วนร้านจำหน่ายยางรถยนต์ทั่วไป ปรับราคาจำหน่ายปลีกลดลง 10-15 % นี่เป็นตัวอย่างครับ

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,155 วันที่ 8 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559