“ลูกหนี้การค้า” ในบัญชีแสดงรายการไว้ต่ำกว่าข้อเท็จจริง จะปรับปรุงรายการอย่างไร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

ข่าวสารด้านบัญชีและภาษีอากร

คำถาม “ลูกหนี้การค้า” ในบัญชีแสดงรายการไว้ต่ำกว่าข้อเท็จจริง จะปรับปรุงรายการอย่างไร

ตอบ เหตุการณ์ของการเกิดรายการลูกหนี้ที่แสดงในงบการเงิน มีรายการที่แสดงไว้ต่ำกว่าข้อเท็จจริง ในทางปฏิบัติมีหลายสาเหตุที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ เช่น การรับรู้รายได้ที่เกิดจากการขายเชื่อ เสมือนหนึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีการขายเป็นเงินสด หรือไม่มีการบันทึกรายได้ที่เกิดขึ้นในอดีต และไม่มีเกี่ยวกับการบันทึกลูกหนี้การค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินการในการปรับปรุงรายการ ควรจะต้องมีหลักฐานที่มีอยู่จริงในการแสดงรายการ และทำการพิจารณารายการลูกหนี้ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง วิธีการในการดำเนินการปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 ในเรื่อง การปรับปรุงย้อนหลังในงบการเงินสำหรับรายการต้นงวดบัญชี ด้วยการ

เดบิต ลูกหนี้การค้า (บันทึกรายการ ณ วันที่ต้นงวด และควรมีหลักฐานที่แสดงถึงรายการขายในอดีต)

เครดิต กำไรสะสม

สำหรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอดีตมีผลต่อการรับรู้รายการในงวดปัจจุบัน เมื่อพบข้อผิดพลาดในการรับรู้รายการจะต้องทำการแก้ไขด้วยการปรับยอดรายการลูกหนี้ให้ถูกต้อง

 

เดบิต ลูกหนี้การค้า

เครดิต รายได้จากการขาย/บริการ (การรับรู้รายการนี้ต้องมีเอกสารหลักฐานในการจำหน่ายหรือให้บริการประกอบการบันทึกรับรู้รายการ)

 

กรณีที่มีการบันทึกรายการในอดีตโดยรับรู้รายได้จากการขายเชื่อ เป็นการขายเงินสด ทำให้รายการในงบการเงินแสดงข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริง การบันทึกรายการจะต้องทำการบันทึกและปรับปรุงโดยการ

เดบิต ลูกหนี้การค้า (การปรับปรุงรายการนี้ต้องมีหลักฐานจากการขายในอดีตแสดง เพื่อปรับปรุงรายการให้ถูกต้อง)

เครดิต เงินสด

 

อ้างอิง : ตัวอย่างเพื่อประกอบความเข้าใจในการปรับปรุงบัญชี เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด, สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559.

 

 

“เหตุการณ์ของการเกิดรายการลูกหนี้ที่แสดงในงบการเงิน มีรายการที่แสดงไว้ต่ำกว่าข้อเท็จจริง ในทางปฏิบัติมีหลายสาเหตุที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ เช่น การรับรู้รายได้ที่เกิดจากการขายเชื่อ เสมือนหนึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีการขายเป็นเงินสด หรือไม่มีการบันทึกรายได้ที่เกิดขึ้นในอดีต และไม่มีเกี่ยวกับการบันทึกลูกหนี้การค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินการในการปรับปรุงรายการ ควรจะต้องมีหลักฐานที่มีอยู่จริงในการแสดงรายการ และทำการพิจารณารายการลูกหนี้ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง วิธีการในการดำเนินการปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 ในเรื่อง การปรับปรุงย้อนหลังในงบการเงินสำหรับรายการต้นงวดบัญชี”


อาจารย์ธนพล สุขมั่นธรรม

- ผู้เขียน -